เมนู

แห่งความพิสดารนั้น ข้าพเจ้าก็กล่าวไว้แล้วในสมันตปาสาทิกา. คำเป็นต้น
ว่า อิเม โข อาวุโส บัณฑิตพึงประกอบโดยนัย อันข้าพเจ้ากล่าวแล้ว
นั่นเทียว. พระเถระกล่าว 98 ปัญหา ด้วยสามารถแห่งหมวดเจ็ด 14 หมวด
แสดงสามัคคีรส ด้วยประการฉะนี้ ดังนี้แล.
จบหมวด 7

ว่าด้วยธรรมหมวด 8



พระเถระครั้นแสดงสามัคคีรส ด้วยสามารถแห่งหมวดเจ็ด ด้วย
ประการฉะนั้นแล้ว บัดนี้ เพื่อจะแสดงสามัคคีรสด้วยสามารถแห่งหมวดแปด
จึงเริ่มปรารภพระธรรมเทศนาต่อไปอีก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิจฺฉตฺตา คือ ไม่แน่นอน ได้แก่
มีสภาพที่ผิด. บทว่า สมฺมตฺตา คือ แน่นอน ได้แก่ มีสภาพที่ถูกโดยชอบ.
บทว่า กุสีตวตฺถูนิ ได้แก่ เรื่อง คือ ที่พึ่งของตนเกียจคร้าน คือของ
คนขี้เกียจ อธิบายว่า เหตุของความเกียจคร้าน. หลายบท ว่า กมฺมํ
กตฺตพฺพํ โหติ
ความว่า พึงกระทำกรรมมีการกะจีวรเป็นต้น. หลาย
บทว่า น วิริยํ อารภติ ความว่า ไม่ปรารภ ความเพียร แม้ทั้ง 2 อย่าง.
บทว่า อปฺปตฺตสฺส ความว่า เพื่อบรรลุธรรม คือ ฌาน วิปัสสนา มรรค
และผล ที่ตนยังไม่บรรลุ. บทว่า อนธิคตสฺส ความว่า เพื่อประโยชน์
คือการบรรลุธรรมคือ ฌาน วิปัสสนา มรรคและผลนั้นนั่นแหละ อันตน
ยังมิได้บรรลุ. บทว่า อสจฺฉิกตสฺส ความว่า เพื่อประโยชน์คือการกระทำ
ให้แจ้งธรรม คือ ฌาน วิปัสสนา มรรค และผลนั้น ที่ตนยังไม่